โพสต์เมื่อ : 4 ธ.ค. 2567
Deep Talk กับแฟน วางแผนการเงินชีวิตคู่ก่อนแต่งงาน
สร้างความมั่นคงและเพิ่มความเข้าใจให้ชีวิตคู่
แม้ว่าความรักอาจเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตคู่ แต่เพียงเท่านั้นอาจไม่พอ เพราะการเริ่มต้นใช้ชีวิตร่วมกันไม่ได้หมายถึงแค่ความรู้สึกดี ๆ แต่ยังรวมถึงปัจจัยสำคัญอย่าง 'การเงิน' ที่ไม่อาจมองข้าม เมื่อเลือกที่จะลงเรือลำเดียวกัน ความรับผิดชอบทางการเงินจึงกลายเป็นสิ่งที่ต้องเผชิญร่วมกัน แม้ว่าการเปิดบทสนทนาเรื่องนี้จะดูเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่นี่ก็ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้คุณทั้งสองวางแผนอนาคตไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการเตรียมพร้อมสำหรับเจ้าตัวน้อยในอนาคต
แล้วเราควรพูดคุยกับคู่ชีวิตยังไงและเรื่องไหนบ้าง? วันนี้พี่แคชมีคำตอบมาให้
จับเข่าคุยเรื่องเงิน เคลียร์ชัดก่อนแต่ง ชีวิตคู่ไม่มีพัง
‘การเงิน’ มักเป็นเรื่องที่คู่รักหลายคู่มักจะมองข้าม ทั้งที่เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างอนาคตร่วมกันอย่างมั่นคงไม่น้อยไปกว่าเลย และการเปิดใจคุยกันเรื่องการเงินนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่การจัดการตัวเลขเท่านั้น แต่ยังช่วยวางรากฐานให้ครอบครัวมีอนาคตมั่นคง ช่วยเสริมความเข้าใจและความเชื่อใจต่อกันและกัน พร้อมเผชิญทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมั่นใจ
อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายคู่ที่ลำบากใจ ไม่พร้อมเปิดใจ และยังไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงให้ดีและเหมาะสม วันนี้พี่แคชมีวิธีชวนคุยเรื่องการเงินแบบสบาย ๆ มาฝากกันครับ
1.พูดเรื่องเงินกับแฟน ควรเริ่มจาก “บทสนทนาพื้นฐาน”
เริ่มต้นการพูดคุยเรื่องเงินอย่างง่าย ๆ โดยทำให้เป็นเรื่องธรรมชาติในชีวิตประจำวัน คุณสามารถตั้งคำถามกว้าง ๆ เช่น “เป้าหมายทางการเงินของคุณคืออะไร?” หรือ “มีแผนค่าใช้จ่ายอย่างไรในแต่ละเดือน?” แล้วอย่าลืมแบ่งปันความคิดเห็นและมุมมองของตัวคุณเองด้วย เพื่อให้เห็นทัศนคติและไลฟ์สไตล์ของกันและกัน
สำหรับการสนทนานี้ พี่แคชขอแนะนำให้เลือกช่วงเวลาสบาย ๆ เช่น วันออกเดท เพื่อสร้างบรรยากาศที่ไม่ตึงเครียดและทำให้การพูดคุยเป็นไปอย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น
2.วางแผนการเงินชีวิตคู่ ต้องรู้จัก “ตั้งเป้าหมายร่วมกัน”
การมีเป้าหมายร่วมกันอย่างชัดเจนถือเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตคู่ คุณสามารถเริ่มต้นด้วยการตั้งเป้าหมายง่าย ๆ เช่น การวางแผนเก็บเงินสำหรับทริปท่องเที่ยวในระยะสั้นหรือการสร้างเงินสำรองฉุกเฉิน พร้อมกับมองไปในอนาคตด้วยการออมและลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคง เช่น “ในอีก 5 ปีข้างหน้า เราอยากมีอะไรด้วยกันบ้าง?” คำถามนี้จะช่วยให้ทั้งสองคนเริ่มมองเห็นอนาคตร่วมกันอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
3.หากอยากไปต่อระยะยาวควร “แชร์มุมมองการเงินของกันและกัน”
โดยการเปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้แบ่งปันทัศนคติเรื่องการใช้เงิน ออมเงิน การลงทุน และแบ่งปันความคิดเพื่อให้เข้าใจและมองไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น
4.เปิดใจจัดการเคลียร์หนี้สิน
หากมีหนี้สิน ลองชวนกันคุยอย่างเปิดใจถึงวิธีจัดการภาระนี้ เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนปลดหนี้ร่วมกันหรือแบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน
ตอบคำถามสุดฮิต…ควรแยกกระเป๋าเงินกับแฟนดีไหม?
การเลือกใช้บัญชีเงินร่วมกันหรือแยกบัญชีในชีวิตคู่มีผลต่อความสัมพันธ์อย่างมาก โดยแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป โดยการใช้กระเป๋าเงินกองกลาง มีบัญชีร่วมกัน จะช่วยให้เห็นรายจ่ายและรายได้ชัดเจน ติดตามค่าใช้จ่ายได้ง่าย และสร้างความรู้สึกเป็นทีมเพื่อทำเป้าหมายสำคัญ เช่น การซื้อบ้านหรือรถ แต่ขณะเดียวกันก็อาจขาดความเป็นส่วนตัว
ในทางกลับกัน การแยกบัญชีช่วยให้มีอิสระในการจัดการเงินส่วนตัว แต่ก็อาจเกิดปัญหาเมื่อมีค่าใช้จ่ายร่วมกัน เช่น ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังนั้น พี่แคชเลยขอแนะนำว่า“ควรแยก” เป็น 2 กระเป๋า เพื่อตอบโจทย์การใช้เงินที่ต่างกันครับ
กระเป๋าเงินกองกลาง เพื่อเรากับแฟน : ซึ่งเงินจำนวนนี้จะเป็นงบประมาณสำหรับใช้จ่ายร่วมกัน เช่น ค่าใช้จ่ายประจำ และการวางแผนการใช้เงินร่วมกันในอนาคต เช่น เงินสำรองฉุกเฉิน, เงินออมระยะสั้น - ระยะยาว, บัญชีสำหรับลูก, ซื้อบ้าน ซื้อรถร่วมกัน, ทริปคู่ กระชับมิตร
กระเป๋าเงินส่วนตัว เพื่อตัวเอง : โดยจะเป็นเงินที่ต่างฝ่ายต่างควรเคารพและให้สิทธิ์ขาดในการใช้เงินก้อนนี้แก่กัน จะได้มีพื้นที่ส่วนตัวในการใช้เงินด้านต่างๆ เช่น ชอปปิง, ดูแลพ่อแม่ หรือลงทุนธุรกิจส่วนตัว เป็นต้น
กระเป๋าเงินส่วนตัว เพื่อตัวเอง : โดยจะเป็นเงินที่ต่างฝ่ายต่างควรเคารพและให้สิทธิ์ขาดในการใช้เงินก้อนนี้แก่กัน จะได้มีพื้นที่ส่วนตัวในการใช้เงินด้านต่างๆ เช่น ชอปปิง, ดูแลพ่อแม่ หรือลงทุนธุรกิจส่วนตัว เป็นต้น
แต่ทั้งนี้ควรมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม โดยการกำหนดงบประมาณร่วมสำหรับค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่าเช่าบ้านและค่าอาหาร แบ่งสัดส่วนตามรายได้ของแต่ละฝ่าย และจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเพื่อติดตามการใช้จ่าย นอกจากนี้ควรตั้งกองทุนสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายไม่คาดคิด เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินโดยไม่กระทบต่อการเงินของทั้งคู่
อยากวางแผนการเงินชีวิตคู่ให้มั่นคง “ต้องตั้งเป้าหมายระยะยาวร่วมกัน”
เมื่อคิดจะเป็นทีมเดียวกันแล้ว เธอ กับ ฉัน ต้องมีเป้าหมายเดียวกัน โดยเช็คง่ายๆ ผ่าน 4 คำถาม ดังนี้
โดยการตั้งเป้าหมายการเงินร่วมกันในระยะยาว เช่น การซื้อบ้าน การมีลูก และการเตรียมเกษียณ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นคงในชีวิตคู่ แต่ก็นำมาซึ่งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นเมื่อมีการวางเป้าหมายระยะยาวที่ชัดเจนแล้ว ควรวางแผนล่วงหน้าสำหรับออมเงินและลงทุนอย่างเหมาะสม เพื่ออนาคตที่มั่นคงด้วยนะครับ
การเงินชีวิตคู่ไม่สะดุดแน่ ถ้ามี “แผนสำรองเผื่อฉุกเฉิน”
แม้เตรียมพร้อมและวางแผนมาอย่างดี แต่เหตุการณ์ฉุกเฉินก็สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิดครับ
ซึ่งพี่แคชพร้อมเป็น“แผนสำรองเผื่อฉุกเฉิน”ให้ทุกคู่ ไม่ว่าจะเป็นยามที่คุณมีปัญหาการเงิน หรือยามที่คุณหาแหล่งเงินทุนหมุนเวียนทำธุรกิจร่วมกัน เพียงนำทรัพย์สินมีค่า เช่น ทองคำ นาฬิกาแบรนด์เนม เพชร พลอย และอื่นๆ มาจำนำกับเรา รับรองว่า จำนำทันใจ ได้เงินทันใช้ แน่นอน!
และสำหรับใครที่สนใจอยากทดลองประเมินราคาจำนำออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง โรงรับจำนำ Cash Express พร้อมให้บริการ ช่วยให้คู่รักสามารถเช็คราคาและจำนำทรัพย์สินได้อย่างสะดวกสบาย ก่อนเดินทางไปจำนำจริงที่สาขา สนใจลองประเมินราคาก่อนได้ที่ลิงก์นี้เลยครับ ประเมินราคาจำนำออนไลน์