รู้ไว เตรียมรับมือก่อน! กับภาวะเศรษฐกิจถดถอย...หลังยุคโควิด-19

โพสต์เมื่อ : 22 มิ.ย. 2563

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ประเทศต่างๆทั่วโลกมีความกังวลกับเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศเหล่านั้นที่คาดว่าจะต้องเจอกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ในอนาคตอันใกล้ แต่การเกิดขึ้นของสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การคาดการณ์หลายอย่างเปลี่ยนไป จากการเตรียมรับมือภาวะเศรษฐกิจถดถอย ก็ต้องเตรียมรับมือเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่หรือ Great Depression แทนครับ

Great Depression คืออะไร?...Great Depression ถูกใช้เรียกภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1930 ซึ่ง ณ เวลานั้นเหตุการณ์ต่างเริ่มต้นจากการที่ตลาดหุ้นตกแบบรุนแรงในเดือนตุลาคมปี 1929 และไม่กี่ปีต่อมา GDP ทั่วโลกก็ลดลงถึง 15% ทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจากการตกงานเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้คนขาดรายได้จนไม่มีกำลังซื้อของเพื่อบริโภคและต้องพึ่งพาการช่วยเหลือจากรัฐ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตมีความคล้ายคลึงกับสถานการณ์ในปัจจุบัน จนสามารถเรียกได้ว่าเป็นสัญญาณอันตรายของวิกฤตที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งสัญญาณเหล่านั้นได้แก่ 

3 สัญญาณอันตราย ชี้ประเทศเข้าใกล้  Great Depression

1) แนวโน้มการหดตัวของเศรษฐกิจโลก

อ้างอิงจากรายงานประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะหดตัว 3% ในปีนี้จากเดิมที่คาดว่าจะมีการขยายตัว 3.3% จากการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกชะงักลง โดยที่คาดว่าเศรษฐกิจในไทยอาจติดลบถึง 6.7% ในปี 2020

2) GDP ของอุตสาหกรรมที่ลดลง

อย่างที่รู้กันดีว่าการที่ GDP ติดลบติดต่อกัน 2 ไตรมาสคือสัญญาณเตือนภัยจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย และขั้นกว่าของ Recession ก็คือ Great Depression ซึ่งไม่ว่าจะเเป็นอุตสาหกรรมการผลิตทั้งเกษตร ประมง ไฟฟ้า ก่อสร้าง การเงินและสินค้าอุตสาหกรรม ก็มี GDP ลงลงตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 2562

3)ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่เปลี่ยนไป

การที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุสิบปีลดลงมาเหลือ 1.16 % ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนที่ต่ำที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอยู่ในอัตราที่สูงกว่าพันธบัตรระยะยาวมักจะเป็นสัญญาณของเศรษฐกิจขาลงที่ชัดเจน

ย้อนรอยวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ วงการธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง?

แน่นอนว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกของประเทศไทยที่ต้องเจอกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เช่นเดียวกับหลายประเทศที่ต้องเคยรับมือกับวิฤตเศรษฐกิจตกต่ำในปี 1930 วันนี้น้องตู้เซฟเลยจะพาทุกคนมาย้อนรอยประวัติศาสตร์วิกฤตการณ์ทางการเงินที่เรียกได้ว่าเป็นบทเรียนสำคัญในการวางแผนรับมือกับ Great Depression ที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้กันครับ

จุดเริ่มต้นของราคาหุ้นที่ลดลงอย่างมหาศาลในตลาดเกิดจากปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินจนกลายเป็นการเทขายหุ้นปริมาณมาก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้คนขาดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของประเทศซึ่งนำมาสู่ผลกระทบมากมาย

1) ผลผลิตด้านอุตสาหกรรมลดลง ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน เหมืองแร่ การก่อสร้าง รวมไปถึงอุตสาหกรรมรถยนต์ที่แม้ว่าจะเป็นช่วงที่มีการผลิตสูงสุดในประวัติศาสตร์ แต่กลับลดลงเกินกว่าครึ่งของผลท่ีควรจะเป็น

2) อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น เป็นผลพวงจากการที่สถาบันการเงินไม่กล้าปล่อยสินเชื่อท่ามกลางภาวะที่เกิดขึ้น ทำให้บริษัทขาดเงินทุนจนต้องลดการผลิตจนเกิดการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

3) การล้มละลายของธนาคาร เมื่อการผลิตมีการลดลงอย่างชัดเจน ผู้คนขาดกำลังซื้อสินค้าในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้หนี้ค้าชำระและถูกสะสมมากขึ้นเรื่อยๆจนธนาคารขาดรายได้และล้มละลายในที่สุด

4) ขาดรายได้จากการส่งออก ภายใต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ประเทศต่างๆพยายามกีดกันการค้าจากต่างประเทศและเน้นการซื้อของที่ผลิตภายในประเทศ ทำให้ยอดการส่งออกสินค้าของไทยลดลงกว่าครึ่ง ส่งผลกับอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรได้รับผลกระทบอยากมาก

เรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียนสำคัญที่หลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญ และหลังจากที่เวลาผ่านไปร่วม 100 ปี การระบาดของโควิด-19 ก็ทำให้วิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำมีแนวโน้มที่จะกลับมาอีกครั้งภายใต้คำพูดของ IMF ที่ว่า “วิกฤตการณ์ที่ไม่เหมือนวิกฤตครั้งใดๆ” น้องตู้เซฟเลยรวบรวมธุรกิจที่อาจจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในปี 2020 นี้มาให้ทุกคนครับ

แนวโน้มเศรษฐกิจตกต่ำปี 2020 ธุรกิจไหนอาจได้รับผลกระทบบ้าง?

เรื่องราวในครั้งนี้เริ่มต้นจากการล็อกดาวน์ครั้งใหญ่ที่ทำให้หลายประเทศต้องรับมือกับภาวะเศรษฐกิจที่หยุดชะงัก ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศหดตัวในตัวเลขที่อาจจะรุนแรงที่สุดในรอบเกือบหนึ่งศตวรรษ 

แต่วิกฤตในปัจจุบันเกิดขึ้นจากความกลัวของคน ทำให้เกิดพฤติกรรมการใช้เงินอย่างระมัดระวัง เศรษฐกิจจึงชะงักลงเป็นระยะเวลานาน ต่างจากวิกฤตที่เคยเกิดขึ้นจากความโลภของธนาคารที่ปล่อยให้มีหนี้เสียในระบบสูงขึ้นจากการปล่อยเงินกู้ให้นักลงทุนไปซื้อขายหุ้นในอดีต

แม้ว่าวิกฤตดังกล่าวจะส่งผลกระทบในทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรม แต่ก็มีบางธุริกจที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้เป็นอันดับแรกๆ ได้แก่

1) สินค้าฟุ่มเฟือย พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นอันดับแรกๆของการอยู่ภายใต้ความระมัดระวังในการใช้เงินคือการหลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าไม่จำเป็นอย่างสินค้าแบรนด์เนม และหันไปซื้อสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันแทน

2) สินค้าจำเป็นราคาสูง รถยนต์ บ้าน รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาแพง ที่แม้ว่าจะไม่ได้ถูกรวมอยู่ในหมวดสินค้าฟุ่มเฟือยและยังคงมีความจำเป็นในการใช้ชีวิต แต่คนส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะอดทนใช้ของเดิมแทนการทุ่มเงินก้อนไปที่สิ่งของชิ้นใดชิ้นหนึ่งในช่วงนี้

3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ถึงจะเป็นที่รู้กันดีว่ามีการลดลงของการท่องเที่ยวตั้งแต่ช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 แล้ว แต่ถึงแม้ว่าโรคระบาดนี้จะสิ้นสุดลง ภาวะเศรษฐกิจและความปกติใหม่ (New Normal) ก็ยังคงส่งผลให้การท่องเที่ยวลดลงไปอีกระยะใหญ่เลยครับ

ถึงวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำจะส่งผลกระทบในทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรม และใช้เวลานานเป็นสิบปีกว่าประเทศนั้นๆจะสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจอยู่ในภาวะปกติ นอกจากนี้ประชาชนในหลายภาคส่วนยังต้องอาศัยการช่วยเหลือจากรัฐ ดังนั้นสิ่งที่เราทุกคนพอจะทำได้ก็คือการติดตามข่าวสารและนโยบายต่างๆอย่างใกล้ชิด รวมถึงมีความพร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเงินให้เหมาะสมกับวิกฤตที่อาจเกิดขึ้น

ด้วยสถานการณ์ที่คนส่วนใหญ่มีรายได้ลดลงและต้องอาศัยเงินเก็บของตัวเองสำหรับการใช้จ่ายในแต่ละวัน ซึ่งแน่นอนว่ายิ่งการระบาดของโรคยืดยาวเท่าไหร่ แนวโน้มของวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำก็ยิ่งทวีคูณและ

ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงิน สำหรับใครที่ถึงจุดวิกฤตที่ไม่มีเงินมากเพียงพอให้ค่าใช้จ่ายจำเป็นก็ให้มองหาโรงรับจำนำ Cash Express ได้ เพราะเราพร้อมอยู่เคียงข้างคุณ ด้วยดอกเบี้ยต่ำที่เริ่มต้นแค่เดือนละ 1.25% สนใจอยากลองประเมินราคาคลิก https://www.cashexpress-pawn.com/estimate/login

อ้างอิงข้อมูลจาก:

https://www.longtunman.com/22103

http://www.satit.up.ac.th/BBC07/AroundTheWorld/hist/40.htm

https://thestandard.co/great-depression-to-great-lockdown/

https://money.kapook.com/view221508.html

https://techsauce.co/tech-and-biz/recession-or-not-by-scb

https://journal.ghbank.co.th/uploads/journal/pagelist/pagelist_56_th/6.pdf

https://www.bbc.com/thai/international-52291254


บทความที่เกี่ยวข้อง

Housing debt 1

แชร์ทริค ปิดหนี้บ้านหมดไว ฉบับปี 2023...

แชร์ทริค! ปิดหนี้บ้านหมดไว ประหยัดได้เป็นแสน ฉบับปี 2023   หนี้บ้านถือเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่สุดก้อนหนึ่งสำหรับหลายๆคน และต้องจ่ายดอกเบ ...

ดูเพิ่มเติม >
CZdiamond1

เพชร CZ คืออะไร แตกต่างจากเพชรแท้ยังไงบ้...

เพชร CZ คืออะไร แตกต่างจากเพชรแท้ยังไงบ้าง  พี่แคชเชื่อว่าหลายๆคนที่สนใจเลือกซื้อเครื่องประดับคงเคยได้ยิน เพชร CZ กันมาบ้าง แต่อาจไม่รู้ว่ ...

ดูเพิ่มเติม >
Rolex New Watches 2021

Rolex New Watches 2021 Collectionใหม่ท...

Rolex New Watches 2021  Collectionใหม่ที่นักสะสมไม่ควรพลาด ในปี 2021 นี้ นาฬิกาแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง Rolex ได้ออกนาฬิกา Collection ให ...

ดูเพิ่มเติม >