หลังวิกฤต COVID-19 Startup ต้องเตรียมรับมือกับอะไรบ้าง?

โพสต์เมื่อ : 25 มิ.ย. 2563

ในหลายปีที่ผ่านมา ทุกคนคงได้ยินการเกิดขึ้นของธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตัวเลขจากกระทรวงอุตสาหกรรมก็ชี้ให้เห็นว่าในปี 2560 มีการเพิ่มขึ้นของสตาร์ทอัพทั่วไปมากกว่า 8,000 ราย ทั้งที่ 2-3 ปีก่อนหน้านั้นมีการเพิ่มขึ้นของธุรกิจประเภทนี้อยู่ที่หลักร้อยเท่านั้น 

ทำไมคนถึงให้ความสนใจธุรกิจสตาร์ทอัพ?

ธุรกิจสตาร์ทอัพคือการที่กลุ่มคนที่มีเป้าหมายร่วมกันให้ความสำคัญและแก้ปัญหาที่ยังไม่ได้รับความสนใจในวงกว้างรวมถึงตอบสนองความต้องการของคนจำนวนน้อยๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเกิดธุรกิจที่ได้รับการยอมรับจนมีโอกาสเติบโตแบบก้าวกระโดดและขยายตัวได้เร็ว 

ซึ่งทุกวันนี้เราก็ได้รับรู้ข่าวการประสบความสำเร็จของธุรกิจสตาร์ทอัพเหล่านี้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆไม่ว่าจะเป็น Wongnai Booking.com Lazada ที่ล้วนเริ่มต้นจากจุดเล็กๆแต่ก็พัฒนาตัวเองจนสามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมได้และกลายเป็นผู้นำของอุตสาหกรรมเหล่านั้นในปัจจุบัน

แม้ว่าความเป็นไปได้ในการประสบความสำเร็จของสตาร์ทอัพจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แตสิ่งที่ธุรกิจประเภทนี้ต้องให้ความสำคัญเหนือธุรกิจแบบอื่นคือการปรับตัว ด้วยความที่รูปแบบของการดำเนินธุรกิจเริ่มต้นจากเงินทุนไม่มาก ทำให้เหล่าสตาร์ทอัพต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตามสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนไปเพื่อให้บริษัทอยู่รอดจนกว่าจะถึงเวลาที่ธุรกิจได้รับความสนใจมากขึ้นในอนาคต

เมื่อพูดถึงการปรับตัวแล้ว แน่นอนว่าอุปสรรคใหญ่ที่เหล่าสตาร์ทอัพต้องรับมือก็คือการดำเนินธุรกิจภายใต้สถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ซึ่งแต่ละธุรกิจก็จะมีรูปแบบการปรับตัวและได้รับบทเรียนที่แตกต่างกันจากเหตุการณ์นี้ แต่ถึงจะพ้นช่วงนี้ไปก็ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะกลับสู่สถานการณ์ปกติ เพราะ COVID-19 ยังคงส่งผลกระทบกับทุกภาคส่วนของธุรกิจอยู่

วันนี้พี่แคชเลยจะมาแชร์สิ่งที่สตาร์ทอัพต้องรับมือช่วง “หลังวิกฤต COVID-19” เพื่อให้ทุกคนได้มีเวลาปรับตัวเข้ากับวิธีการทำธุรกิจที่เปลี่ยนไปครับ

1.ลูกค้าหน้าใหม่

เมื่อผู้บริโภคต้องใช้ชีวิตภายใต้การ Lockdown สิ่งที่คิดว่าเป็นความปกติกลับกลายเป็นปัญหาได้ จริงไหมครับ? ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของ การออกกำลังกาย รวมไปถึงความจำเป็นของบริการร้านเสริมสวย 

ที่เราไม่สามารถไปสถานที่จริงได้เหมือนเดิม  ซึ่งปัญหาความไม่สะดวกสบายต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงนี้แหละครับ ทำให้ผู้บริโภคต่างก็พยายามตามหาตัวช่วยในการแก้ไขปัญหา และมีโอกาสมาเจอกับสินค้าและบริการของเหล่า Startup ยกตัวอย่างเช่น Startup ที่ทำ E-Commerce ที่ในช่วงเวลาปกติอาจมีลูกค้าเป็นกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน แต่พอเป็นช่วงวิกฤต อาจมี User ที่เป็นกลุ่มคนอายุ 40 เป็นต้นไปมากขึ้น

ซึ่งหากผู้ให้บริการสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีให้กลับ User กลุ่มนี้ได้ ก็จะทำให้คนกลุ่มนี้กลายมาเป็นลูกค้าในระยะยาวได้ครับ ดังนั้นใครที่ทำ Start up ในช่วงนี้อาจต้องลองนำจำนวน User ใหม่มาวิเคราะห์ดูครับว่าเป็นกลุ่มอายุไหน มาจากช่องทางไหนมากขึ้นหรือเปล่า? เพื่อที่จะได้พัฒนาสินค้าและบริการรองรับกลุ่มลูกค้าหน้าใหม่นั่นเองครับ

2.รายรับรายจ่ายที่เปลี่ยนไป

สำหรับวงการสตาร์ทอัพแล้ว ธุรกิจที่ได้รับความนิยมมักจะวนเวียนอยู่กับการนำเทคโนโลยีมาช่วยให้ชีวิตประจำวันง่ายขึ้น ซึ่งการอยู่ในสถานการณ์COVID-19  ก็มีทั้งผลดีที่ธุรกิจเหล่านี้จะมีความสำคัญมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากคนทั่วโลก ส่งผลให้มาช่องทางรายได้เพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันการยกเลิกของโครงการต่างๆที่ถูกตระเตรียมไว้ก่อนเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ก็สร้างความเสียหายให้กับการเงินของบริษัทเช่นกัน

จากปัญหารายรับรายจ่ายที่ไม่สมดุล บริษัทที่ประสบปัญหาควรรีบวางแผนและทำการปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัทให้เหมาะสมกับฐานลูกค้าที่มากขึ้น รวมถึงจัดสรรเงินส่วนที่เป็นกำไรมาชดเชยมูลค่าการลงทุนที่สูญเสียไปจากการยกเลิกของโครงการต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงแรกของโรคระบาดครั้งนี้

เหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นบทเรียนที่ดีในการหันมาให้ความสนใจการบริหารเงินทั้งของตัวเองและของบริษัท จะเห็นได้ว่ามีคนจำนวนมากที่ไม่มีเงินมากเพียงพอค่าใช้จ่ายแต่ละวันในช่วงนี้ แต่ถ้าเราบริหารจัดการดีๆ และมีเงินสดสำรองที่เพียงพอประมาณ 6-12 เท่าของค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน ก็จะช่วยให้เรานำเงินเก็บในส่วนนี้มาดำเนินชีวิตและชำระหนี้ได้อย่างไม่ติดขัดเลยครับ 

3.พฤติกรรมผู้บริโภคที่ไม่เหมือนเดิม

วิกฤตในครั้งนี้ทำให้ทุกภาคส่วนทั่วโลกได้รับบทเรียนที่สำคัญ ทั้งในภาคธุรกิจที่ต้องเห็นบริษัทชั้นนำประกาศล้มละลายอย่างต่อเนื่องจากการขาดความสามารถในการชำระหนี้ และการเห็นคนในหลายประเทศที่ต้องรอการช่วยเหลือจากรัฐบาลจากที่เงินออมไม่เพียงพอกับค่าครองชีพตลอดช่วงล็อกดาวน์

สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ทำให้เกิดความกลัวในการใช้เงิน ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้จ่ายของคนในยุคนี้เปลี่ยนไป ทำให้การตัดสินใจซื้อสินค้าเป็นไปได้ยากขึ้นในทุกอุตสาหกรรม ทั้งการท่องเที่ยว การซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ไปจนถึงการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันในจำนวนเงินที่ลดลง และเพิ่มสัดส่วนของการออมและการลงทุนให้มากขึ้นเพื่อสร้างความมั่นคง

ดังนั้นสูตรการขายแบบเดิมๆอาจไม่ได้ผลอีกต่อไป ซึ่งสิ่งเดียวที่จะช่วยให้คุณเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าของคุณให้มากขึ้น ก็คือการแกะรอย Customer Journey (ดูประสบการณ์การซื้อของลูกค้า ตั้งแต่จุดเริ่มต้นว่าเขารับรู้สินค้าและบริการของเราจากช่องทางไหน อะไรที่ทำให้เขาสนใจ ไปจนถึงขั้นตอนการจ่ายเงิน และได้รับสินค้า) พี่แคชขอให้คุณลองเอาตัวเองไปคิดแบบลูกค้าว่าอยากได้อะไร และพยายามตอบโจทย์ให้ได้มากที่สุด

4.ภาวะจิตใจของคนในทีม

การทำธุรกิจในรูปแบบของสตาร์ทอัพที่มีอัตราการประสบความสำเร็จน้อยทำให้หน้าที่การงานของคนในทีมไม่มีความมั่นคงเท่าการทำงานในบริษัทใหญ่ ประกอบกับช่วงโรคระบาดที่มีนโยบายการปลดพนักงานของบริษัทชั้นนำทำให้อัตราการว่างงานสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงไม่แปลกที่จะส่งผลกับสภาพจิตใจของคนในทีม ดังนั้น หน้าที่สำคัญของผู้ประกอบการก็คือการไม่ลืมสร้างความมั่นใจให้กับทุกคนในทีมเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแม้อยู่ในภาวะที่ไม่ปกตินั่นเองครับ

นอกจากสิ่งที่ธุรกิจสตาร์ทอัพต้องรับมือแล้ว พี่แคชยังรวบรวมอุตสาหกรรมที่จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดซึ่งเป็นผลจากความปกติใหม่หรือ New Normal ที่เกิดขึ้นจากวิกฤต COVID-19 ธุรกิจของใครมีแนวโน้มเติบโตบ้างไปดูพร้อมๆกันเลยครับ

หลังCOVID-19-19 Startup อุตสาหกรรมไหนเติบโตชัวร์!

1) เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กับเทคโนโลยีจะเป็นที่ต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ จากการที่คนมีพฤติกรรมการใช้ระหว่างช่วงโรคระบาดจนกลายเป็นความเคยชินใหม่ ซึ่งธุรกิจที่เป็นที่ต้องการก็จะอยู่ในกลุ่มที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวันเช่น ซื้อขายสินค้า การเดินทาง การสื่อสารและการประชุมสัมมนา

2) ซื้อขายข้อมูล ในยุคที่คนให้ความสำคัญกับโลกออนไลน์มากขึ้น แน่นอนว่าสิ่งที่มีความสำคัญมากยิ่งกว่าเดิมขึ้นไปอีกก็คือข้อมูล เพราะภาคธุรกิจก็ยิ่งทวีคูณความสามารถในการวิเคราะห์และปรับกลยุทธ์ให้เหมาะกับความปกติใหม่ที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค

3) พ่อค้าคนกลาง จริงอยู่ว่าทุกวันนี้ผู้บริโภคสามารถติดต่อหาผู้ผลิตได้โดยตรง แต่การที่มีร้านค้ามากมายเข้ามาอยู่ในโลกออนไลน์ ทำให้เกิดความลำบากในการเปรียบเทียบร้านค้า พ่อค้าคนกลางจึงยังคงมีความจำเป็นที่จะมอบความสะดวกสบายให้หลายๆฝ่าย แค่จะถูกปรับรูปแบบจากคนธรรมดาเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์

นอกจากธุรกิจที่พี่แคชยกตัวอย่างแล้ว การท่องเที่ยวก็เป็นอีกอุตสาหกรรมที่คนจะให้ความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากช่วงวิกฤต แต่ก็ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าอุตสาหกรรมอื่นกว่าที่จะเรียกคืนความมั่นใจจากนักท่องเที่ยวได้ เพราะเหตุการณ์นี้ทำให้ทริปท่องเที่ยวของใครหลายคนถูกเลื่อนหรือยกเลิกไป ดังนั้นถ้าปัจจัยหลายๆอย่างกลับมามีความปลอดภัยมากเพียงพอ ทุกคนก็พร้อมที่จะเก็บกระเป๋าไปเที่ยวทุกเมื่ออยู่แล้วจริงไหมครับ

ส่วนเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพคนไหนที่ไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมที่พี่แคชยกตัวอย่างมาหรืออยู่ในกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวที่ต้องรอเวลาจนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ปกติอีกสักระยะ แล้วไม่มีเงินมากพอจนต้องเอาเงินส่วนตัวไปสร้างความมั่นคงจนไม่มีเงินสำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็นก็ให้มองหาโรงรับจำนำ Cash Express ได้ เพราะเราพร้อมอยู่เคียงข้างคุณ ด้วยดอกเบี้ยต่ำที่เริ่มต้นแค่เดือนละ 1.25% สนใจอยากลองประเมินราคาคลิก https://www.cashexpress-pawn.com/estimate/login

อ้างอิง: 

https://www.greenbiz.com/article/new-normal-can-business-focus-driving-positive-change-sponsored

https://www.smartsme.co.th/content/101735

https://mgronline.com/smes/detail/9600000079364

https://www.entrepreneur.com/article/349962


บทความที่เกี่ยวข้อง

Update กระเป๋า CHANEL Fall-Winter ปี 20...

Update กระเป๋า CHANEL Fall-Winter ปี 2020/2021 ใบไหนน่าสนใจบ้าง พี่แคชเชื่อว่า CHANEL เป็นแบรนด์ในฝันของสาวๆ หลายคน โดยเฉพาะสายแฟชั่นที่เน ...

ดูเพิ่มเติม >

มีงบไม่เกิน 30,000 ซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมร...

เมื่อก่อนเราอาจจะคิดว่ากระเป๋าแบรนด์เนมนั้นเป็นของสิ้นเปลือง เพราะมีราคาสูง และไม่ได้มีประโยชน์อะไรมากนอกจากใส่ของใช่ไหมครับ? แต่รู้หรือไม่ว่าในปัจจุบ ...

ดูเพิ่มเติม >

ROLEX COUPLE WATCHES (2)...

ROLEX COUPLE WATCHES (2) 5.DATEJUST 126301 และ 278271 DATEJUST นาฬิการุ่นคลาสสิกของ ROLEX ที่มีไลน์การผลิตมายาวนาน มีความหลากหลายทั้งขนาดของหน้า ...

ดูเพิ่มเติม >