ไขข้อสงสัย เพชร กับ พลอย แตกต่างเหมือนกันอย่างไร

โพสต์เมื่อ : 10 เม.ย. 2567

ไขข้อสงสัย เพชร กับ พลอย แตกต่างเหมือนกันอย่างไร 

โลกใบนี้มีอัญมณีเลอค่ามากมายที่เกิดจากแร่หรือหิน ซึ่งเกิดจากความกดดันและอุณหภูมิที่สะสมตามแหล่งธรรมชาติใต้พื้นดิน และถูกนำมาใช้ในรูปแบบต่างๆ เชื่อว่าใครหลายๆ คนคงทราบ และรู้จักเพชรกับพลอยเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังสงสัย และไม่รู้ว่าเพชรกับพลอยนั้นแตกต่างกันหรือไม่ วันนี้ พี่แคชจะพานักสะสมอัญมณีมือใหม่มาทำความเข้าใจว่า เพชร คืออะไร แล้วพลอย คืออะไร  หรือเพชรคือสีอะไร แล้วพลอยคือสีอะไร รวมไปถึงวิธีแยกชนิดว่า เพชร กับ พลอย แตกต่างกันยังไงบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว อ่านกันเลย!

‘ความแข็ง’ คุณสมบัติที่ใช้จำแนกว่า เพชรกับพลอย ต่างกันยังไง! 
จริงๆ แล้วคุณสมบัติที่ทำให้ เพชรกับพลอย ต่างกัน สามารถใช้ข้อพิสูจน์ได้หลายเงื่อนไข เช่น โครงสร้าง องค์ประกอบสูตรทางเคมี แต่ในฐานะที่คุณกำลังจะเป็นนักสะสมอัญมณีมือใหม่ รู้ไหมครับว่ามีอีกหนึ่งวิธีที่ใช้แยกว่า เพชรกับพลอย ต่างกันยังไง ซึ่งก็คือ ‘ความแข็ง’ โดยวิธีนี้ไม่ต้องใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เชิงลึกมาตัดสิน เพียงแค่แยกความแข็งของเพชรและพลอยออกเป็นกลุ่มผ่านความแข็งก็ได้คำตอบแล้วนะครับ 

3 ระดับความแข็งของแร่ที่ใช้แยก เพชร กับ พลอย ว่าต่างกันอย่างไร?! 
เรื่องนี้ต้องอ้างอิงไปถึง ‘ฟรีดรีช โมห์’ นักธรณีวิทยาคนแรกที่ได้ทำการจัดลำดับของวัตถุต่างๆ ด้วยการนำแร่บางชนิดมาเป็นตัวแทนในการจัดลำดับความแข็ง และแบ่งค่าความแข็งออกเป็นระดับที่ 1-10

 โดยความแข็งน้อยจะหมายถึงระดับ 1 และความแข็งมากที่สุดจะหมายถึงระดับ 10 ซึ่งความแข็งที่ว่านี้ไม่ได้ใช้เพื่อแยก ความแตกต่างของเพชรกับพลอยเท่านั้น แต่รวมถึงทุกสิ่งบนโลกที่ธรรมชาติสร้างขึ้นทั้งหมดอีกด้วย ซึ่งถ้าเปรียบกับเล็บมือของมนุษย์จะมีความแข็งอยู่ระดับที่ 2.5 นั่นเอง

สำหรับคุณสมบัติความแข็งในที่นี้ หมายถึง ความทนทานต่อการขูดขีด ยิ่งทนทานได้มากเท่าไหร่ระดับความแข็งก็จะสูงขึ้นตามขึ้นไปด้วย กลับกันถ้าทนความแข็งไม่ได้เลยระดับความแข็งก็จะต่ำลงตามลำดับ เช่น  จะไม่สามารถขูดขีดวัตถุลำดับที่ 2 ได้ ฉะนั้นวัตถุที่มีความแข็ง และทนทานต่อการขูดขีดมากที่สุดคือลำดับที่ 10   ดังนั้น เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นนี่คือ 3 ระดับความแข็งของแร่วัตถุที่ถูกแบ่งเกณฑ์เอาไว้ ดังนี้ 

แร่กลุ่มที่ 1 ‘พลอยเนื้ออ่อน’ คืออะไร มีระดับความแข็งเท่าไหร่บ้าง? 
พลอยเนื้ออ่อน เป็นพลอยที่เกิดความเสียหายได้ง่าย ความแข็งบางระดับไม่นิยมนำมาทำอัญมณี แต่บางระดับก็นำมาทำอัญมณี และโดยส่วนมากจะนำไปใช้ในวัตถุดิบทางอุตสาหกรรมมากกว่า  โดยระดับความแข็งของพลอยเนื้ออ่อน สามารถแบ่งระดับได้ คือ 

  • ความแข็งระดับ 1 - แร่ทัลค์? (Talc) : เป็นแร่ที่มีความอ่อนมาก นิยมนำมาทำเป็นส่วนผสมของแป้งฝุ่น
  • ความแข็งระดับ 2 - แร่ยิปซัม (Gypsum) : นิยมนำมาทำ ปูนซีเมนต์ ปูนปลาสเตอร์ รวมไปถึงใช้ทำชอล์คเขียนกระดาน
  • ความแข็งระดับ 3 - แร่แคลไซต์ (Calcite) : นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบผลิตแสงเลเซอร์
  • ความแข็งระดับ 4 - แร่ฟลูออไรต์ (Fluorite) : เป็นแร่ที่พบได้ง่าย และมีปริมาณมาก ด้วยความหลากหลายของสี เช่น สีใส น้ำเงินชมพู เหลือง น้ำตาล  ม่วง เขียว จึงนิยมนำมาทำเป็นอัญมณี
  • ความแข็งระดับ 5 - แร่อะพาไทต์ (Apatite) : เป็นแร่ที่พบได้มากเช่นกันมีหลากสี เช่น สีเขียว เหลือง ม่วง น้ำตาล ฟ้า ชมพู แต่ไม่นิยมนำมาเป็นอัญมณีเท่าไหร่
  • ความแข็งระดับ 6 - แร่ออร์โทเคลส (Orthoclase) : แร่กลุ่มใหญ่ที่หลายๆคนรู้จัก เช่น มุกดาหาร และหินพระอาทิตย์
  • ความแข็งระดับ 7 - แร่ควอตซ์ (Quartz) : เป็นแร่ที่มีความหลากหลาย และพบได้มากที่สุด จึงทำให้ราคาไม่สูงมากนัก ซึ่งความแข็งในระดับนี้สามารถทำให้แผ่นเหล็ก หรือแก้วขูดเป็นรอยได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) ประเภทลึกหยาบ เช่น แอเมทิสต์ (Amethyst), โรสควอตซ์ (Rose Quartz), ซิทริน (Citrine)  และ (2) ประเภทผลึกละเอียด เช่น อะเกต (Agate), โอนิกซ์ (Onyx), คาลซิโดนี (Chalcedony)
  • ความแข็งระดับที่ 8 - แร่โทแพซ (Topaz) : เป็นอัญมณีที่มีสีสันมากมาย เช่น สีเขียว ขาวใส ส้ม เหลือง ชมพู ซึ่งสีที่มีราคาแพงที่สุด คือสีส้มอมแดง แต่สีที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ สีฟ้า

 แร่กลุ่มที่ 2 ‘พลอยเนื้อแข็ง’ คืออะไร มีระดับความแข็งเท่าไหร่บ้าง? 
ถ้าถามว่าพลอยมีสีอะไร พลอยกับเพชรต่างกันยังไง ในแร่กลุ่มที่ 2 นี้สามารถตอบคุณได้ชัดเจนขึ้นเลยนะครับ โดยแร่กลุ่มที่ 2 คือพลอยเนื้อแข็ง จะมีความแข็งระดับ 9 มีชื่อว่า ‘แร่คอรันดัม (Corundum)’ ราชาของพลอย แร่อัญมณีคอรันดัมที่แข็งกว่าระดับที่ 8 ถึง 2 เท่า จึงทำให้มีราคาแพงที่สุดในพลอยชนิดต่างๆ และถูกจัดให้เป็นอัญมณีที่มีความสำคัญมาก รองจากเพชรอีกด้วย โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ 

  • Ruby (ทับทิม)  คอรันดัมชนิดสีแดงเท่านั้น
  • Sapphire (แซปไฟร์) คอรันดัมสีอื่นๆทั้งหมดที่ไม่ใช่สีแดง เช่น บุษราคัม ไพลิน 

โดยแซปไฟร์สีที่มีราคาแพงที่สุด คือ แซปไฟร์ชนิด Padparadscha มีสีชมพูอมส้ม หรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม “เพชรพระราชา” นั่นเอง

แร่กลุ่มที่ 3 ‘เพชร’ คืออะไร มีระดับความแข็งเท่าไหร่บ้าง? 
เพชร (Diamond) เป็นแร่ธาตุที่มีความแข็งที่สุดในบรรดาแร่ธาตุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งหมด มีความแข็งระดับที่ 10 เมื่อนำไปเทียบกับ พลอยเนื้อแข็งที่มีความแข็งระดับที่ 9 นั้น เพชรมีความแข็งมากกว่าพลอยเนื้อแข็งมากถึง 4 เท่า ทำให้เพชรกลายเป็นอัญมณีที่มีราคาแพงที่สุด และมีคุณค่ากว่าอัญมณีประเภทอื่นๆ 

อีกทั้งเพชรยังมีสีสันมากมาย หรือที่รู้จักกันว่า เพชรแฟนซี (Fancy Color) เช่น สีม่วง สีฟ้า สีเขียว สีเหลือง สีส้ม สีดำ และสีชมพู ซึ่งจะมีราคาที่สูงกว่าเพชรสีใส ตามความสวยงาม 
 

 สรุป 
และนี่ความแตกต่างของเพชร กับ พลอย ที่สามารถวัดได้จากค่าระดับจากความแข็งแรง ตั้งแต่ระดับ 1-10 ซึ่งระดับที่ 10 จะเป็นเพชรหนึ่งเดียวเท่านั้น ส่วนระดับที่ 9 ลงมาจะถูกเรียกว่าพลอย ซึ่งพลอยจะถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 กลุ่มคือ ระดับที่ 9 จะเป็นพลอยเนื้อเเข็งเท่านั้น ส่วนระดับที่ 8 ลงมาจะเป็นพลอยเนื้ออ่อน 


เป็นอย่างไรกันบ้าง หวังว่าบทความนี้จะทำให้เพื่อนๆ และนักสะสมอัญมณีมือใหม่เข้าใจในเรื่องของเพชร และพลอยมากยิ่งขึ้น สำหรับใครที่มี เพชร พลอย หรือเครื่องประดับเพชร แล้วต้องการเงินทุนหมุนเวียน สามารถนำสินทรัพย์ดังกล่าวมาจำนำกับ “Cash Express” ได้เลย 

ถ้าอยากรู้ว่าเพชรที่คุณมีจะเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เท่าไหร่สามารถประเมินราคาออนไลน์ได้ฟรี ก่อนไปที่สาขาได้ที่นี่เลยครับ : https://www.cashexpress-pawn.com/estimate 
 


 

 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

เตรียมความพร้อมอย่างไร ให้อยู่รอดกับวิกฤ...

วันนี้พี่แคชจะพาย้อนกลับไปพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจโดยภาพรวมของปี 2019 นับว่าเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจโลก โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสงครามการค้ ...

ดูเพิ่มเติม >

มาทำความรู้จักกับ PATEK PHILIPPE NAUTILU...

มาทำความรู้จักกับ PATEK PHILIPPE NAUTILUS สาวกนาฬิกาต้องเทใจให้กับ นาฬิกา PATEK PHILIPPE NAUTILUS มาแรงแซงโค้งทุกมุม (ถ้ามีงบ!) เพราะนาทีนี้! เวลาน ...

ดูเพิ่มเติม >

5 นาฬิกาแบรนด์ดังเสริมให้บุคลิกของสาวๆ ม...

5 นาฬิกาแบรนด์ดังเสริมให้บุคลิกของสาวๆ มีเสน่ห์ มากกกว่าการเป็นเครื่องบอกเวลาในแต่ละวัน นาฬิกาประดับข้อมืออันบอบบางของหญิงสาว คงคุณค่ามากกว่านั้นด้ ...

ดูเพิ่มเติม >