5 พระเครื่องชนิดต่างๆ ที่มือใหม่ ควรรู้จัก

โพสต์เมื่อ : 5 ก.พ 2563

5 พระเครื่องชนิดต่างๆ ที่มือใหม่ ควรรู้จัก

วงการพระเครื่องนั้น หรือเซียนพระต่างๆ สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มลองศึกษาอาจจะมีความยากในการศึกษา เพราะเราต้องเข้าใจลึกถึงรายละเอียดพระชนิดต่างๆ ไม่ใช่แค่เรารู้ว่าสรรพคุณอะไร มีความขลังขนาดไหน หรืออะไรที่คนไทยนิยมบูชา ดังนั้นก่อนที่จะไปเจาะลึกเรื่องอื่นๆ อันดับแรกพี่แคชว่าเราควรจะดูพระให้เป็นก่อนว่า เนื้อพระเครื่องชนิดต่างๆ นั้นมีอะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร เริ่มต้นที่ 5 ชนิดนี้กันก่อนเลยครับ

1. พระเนื้อผง

เริ่มต้นด้วยพระเครื่องที่มีให้พบเห็นค่อนข้างบ่อน นั่นคือ พระเนื้อผง ที่เป็นการทำขึ้นจากหลวงพ่อวัดต่างๆ โดยใช้วัสดุที่เป็นผงพุทธคุณที่มีการเรียกสูตรเพิ่มความขลังเขียนอักระเลขยันต์ต่างๆ และการบริกรรมสูตรพระคาถาลงไป ด้วยดินสอผงวิเศษ จากนั้นนำผงนั้นมาหล่อปั้นเป็นพระ หรือจ้างโรงงานปั๊มพระออกมาเป็นรูปแบบที่ต้องการ เช่น พระสมเด็จ เป็นต้น ซึ่งสุดท้ายแล้วก็จะนำมาผ่านการปลุกเสกจากพระอาจารย์ชื่อดัง เพื่อให้เกิดความขลังในแบบที่คุณต้องการ ซึ่งวัตถุดิบส่วนใหญ่มาจากเนื้อปูน พระเนื้อผงเป็นพระที่เริ่มมีมาไม่นาน ในช่วงยุครัตนโกสินทร์เท่านั้น 

2. พระเนื้อดิน 

พระเนื้อดินนี้เป็นพระที่มีอายุการสร้างเก่าแก่มากที่สุด เป็นการนำดินที่เป็นวัสดุหาง่าย แต่มีความทนทาน มาสร้างสรรค์ปฏิมากรรมเป็นรูปร่าง ซึ่งมนุษย์เรามีความเชื่อมาตั้งแต่อดีตว่า ดิน เป็นดั่งเทพเจ้าที่มีคุณอเนกอนันต์อย่างมาก ซึ่งแน่นอนครับว่าดินที่นำมาสร้างพระนี้ต้องเป็นดินที่มาจากศาสนสถานที่สำคัญ หรือศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น ซึ่งพระเนื้อดินนั้นสามารถผสมสิ่งศักดิ์สิทธ์ต่างๆ ในการปั้นได้เลย เพื่อให้มีอิทธิฤทธิ์แรงกล้า เมื่อได้วัตถุดิบที่ต้องการแล้ว ก็จะนำสิ่งเหล่านั้นมาผสมเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วไปกดลงในแม่พิมพ์ ถ้าเผาให้แห้ง จะเรียกพระดินเผา หรือถ้าปล่อยให้แห้งเอง ก็จะเรียกพระดินดิบ ซึ่งจะทำให้ได้พระเนื้อดินที่มีพระเดชพระคุณ เหมือนเช่น พระขุนแผนบ้านกร่าง นางพญาพิษณุโลก หรือ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน เป็นต้น 

3. พระเนื้อชิน

คำว่าชิน ในพจนานุกรมแปลว่า แร่ตะกั่วชนิดหนึ่ง ซึ่งพระเนื้อชินก็คือ พระที่มีโลหะผสม มีแร่ตะกั่วรวมอยู่ แบ่งได้ 3 แบบคือ

-เนื้อชินตะกั่ว เป็นพระเนื้อชินที่มีแร่ตะกั่วมากกว่าแร่ชนิดอื่น ถ้ามีอายุมากจะเกิดสนิมได้ง่าย และอาจเกิดการแตกรานแบบใยแมงมุม 
-เนื้อชินเงิน เป็นพระเนื้อชินที่มีเนื้อในสีขาวคล้ายเงินยวง มีส่วนผสมของตะกั่วกับดีบุกเป็นหลัก 
-เนื้อชินเขียว เป็นพระเนื้อชินที่มีส่วนผสมระหว่างแร่ตะกั่วกับแร่สังกะสี ทำให้ได้สีออกเขียวปนดำ ถ้ามอายุมากเนื้อพระจะแห้ง เป็นสีดำ 

พระชินส่วนใหญ่จะเป็นพระกรุรุ่นเก่า ที่มีอายุมากเป็นร้อยปีขึ้นไป คือผสมพระเข้ากับแร่ต่างๆ ตามสูตรโบราณ แล้วฝังกรุ ซึ่งพอคนไปขุดพบขึ้นมาก็นำมาแขวน หรือขาย เช่น พระร่วง พระมเหศวร ซึ่งในปัจจุบันจะไม่นิยมสร้างพระเครื่องเนื้อนี้อีกแล้วครับ

4. พระเนื้อโลหะ

พระเนื้อโลหะนี้จะคล้ายๆ กับเนื้อชิน ตรงที่เป็นการนำส่วนผสมต่างๆ ที่มีความสำคัญนำมาผสมรวมกันกับโลหะ สร้างพระใหม่ขึ้นมา ซึ่งมี 4 ชนิดด้วยกัน คือ 

1. พระเนื้อทองคำ
2. พระเนื้อเงิน 
3. พระเนื้อทองแดง
4. พระเนื้อตะกั่ว 

สังเกตง่ายๆ พระเนื้อโลหะก็คือ เช่น พระรูปหล่อ เหรียญต่างๆ พระกริ่ง พระบูชาตามยุคต่างๆ เช่น เชียงแสน อยุธยา รัตนโกสินทร์ เป็นต้น 

5. พระเนื้อว่าน

ตั้งแต่อดีตโบราณมาแล้วคนไทยเราก็มีความผูกพันกับไม้ตระกูลว่านมานานแล้ว ทั้งเอามาใช้ทำยา แถมยังเชื่อว่าพืชตระกูลนี้จะช่วยให้อยู่ยงคงกระพัน เป็นสิริมงคลกับชีวิต ดังนั้นจึงมีการสร้างสิ่งมงคลในรูปแบบพระเครื่องที่ทำจากว่านเหล่านี้อยู่เยอะแยะมากมาย พระเครื่องหลายๆ ชิ้นมีส่วนของว่านผสมอยู่ ไม่ว่าจะเป็น พระกรุทุ่งเศรษฐี พระผงสุพรรณ พระนางพญา พระสมเด็จวัดระฆัง เป็นต้น 

จากข้อมูลดังกล่าว คงทำให้ทุกท่านได้ทราบข้อมูลต่างๆเบื้องต้นเกี่ยวกับเนื้อพระชนิดต่างๆ เพื่อนำไปเป็นฐานข้อมูลในการศึกษาพระชนิดต่างๆต่อๆไป  ครั้งถัดๆไปพี่แคชจะพาทุกท่านมาพบกับบทความเกี่ยวกับด้านไหน ติดตามกันได้เลยครับ


บทความที่เกี่ยวข้อง

6 Rolex Avengers (part1)...

ช่วงนี้กระแส Avengers มาแรงที่สุดของที่สุด ใครยังไม่ได้ไปดู ต้องรีบไปดูกันด่วนๆนะจ้า วันนี้พี่แคช จะพามาทำความรู้จัก Avengers ในภาคนาฬิกา Rolex กัน ...

ดูเพิ่มเติม >
ไอเดียของขวัญครบรอบแต่งงาน อัปเดต 2022

ไอเดียของขวัญครบรอบแต่งงาน อัปเดต 2022...

ไอเดียของขวัญครบรอบแต่งงาน อัปเดต 2022   ช่วงบรรยากาศดีๆแบบนี้นอกจากจะเป็นช่วงเทศกาลแห่งความสุขแล้ว พี่แคชเชื่อว่ายังเป็นวันครบรอบแต่ง ...

ดูเพิ่มเติม >
GOLD 2022 1

เพิ่มทอง เอาทองไปเปลี่ยนลาย vs ขายแล้วซื...

  เพิ่มทอง เอาทองไปเปลี่ยนลาย vs ขายแล้วซื้อใหม่ แบบไหนดีกว่า? ทองคำถือเป็นโลหะที่มีค่าความแข็งแรงต่ำ ซึ่งเกิดความเสียหายได้ง่ ...

ดูเพิ่มเติม >